วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552


สูตร การหมุน Rubik แถวที่ 2หลังจากที่เราทำแถวแรกกันได้แล้วนะครับ เราก็มาทำแถวที่สองกันต่อเลย แถวที่สองนี้ทำง่ายหน่อยนะครับ อาศัยความเข้าใจนิดนึงก็ใช้ได้เลย

หลังจากทำได้หน้าเดียว (อย่างเป็นระเบียบ) เรียบร้อยแล้ว ให้เราบิดแถวแรกที่เราทำได้ดังนี้ .. (ทางซ้ายหรือขวาก็ได้นะครับ)
ให้ได้สีหน้าที่เหลือทั้ง 4 หน้า ที่ไม่ใช่ด้านบน ตรงกับสีที่ถูกต้องอย่างในรูปนะครับ
เรา ก็พลิกสีที่เราใช้เป็นหลักในตอนแรก (คือสีเหลือง) ลงไปข้างล่างนะครับ ทีนี้เราก็เล็งสีตรงที่ผมวงเอาไว้ ว่าสีอะไรจะมาใส่ที่ตรงนี้ ในที่นี้สีก็ควรจะเป็นอย่างรูปเล็กที่ผมเอามาให้ดูกันใช่ไหมครับ
ให้เรามองหาสีดังกล่าวที่อยู่คู่กัน แล้วพยายามบิดให้ได้อย่างในรูป ซึ่งตรงนี้ต้องเลือกหน่อย เพราะบางทีมันก็หาตำแหน่งนี้ยากซักหน่อย
ขั้น แรกเลย ให้เราหันหน้าที่เป็นสีแดงเข้ามาหาตัวเรา และให้ด้านน้ำเงิน ซิ่งมีเม็ดที่เราต้องการอยู่ทางด้านขวา จากนั้นให้บิดด้านบนไปทางขวาหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านหน้าทวนเข็มนาฬิกาหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านบนกลับมาทางด้านซ้ายหนึ่งครั้ง
แล้วเราก็บิดด้านหน้ากลับมาแบบตามเข็มนาฬิกาหนึ่งครั้ง ตรงนี้จะเห็นว่าสีแดงกับสีน้ำเงินที่อยู่ด้านบนเข้าคู่กันแล้วครับ
แล้วเราก็ต้องจัดให้มันได้ตำแหน่งเดิม นั่นคือบิดด้านบนไปทางซ้ายหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านขวาขึ้นมาข้างบนหนึ่งครั้ง
แล้วก็บิดด้านบนไปทางขวาหนึ่งครั้ง
ทีนี้เกือบเข้าที่แล้วครับ แล้วก็บิดด้านขวาลงมา
ได้แล้วครับ
จาก นั้นเราก็ทำจุดที่เหลือให้ครบ ทีนี้มีอยู่สองสามอย่างที่อยากจะบอกครับ คือ1. ถ้าเม็ดที่เราต้องการเนี่ย ไม่อยู่ด้านขวาเหมือนในตัวอย่าง แต่ดันไปอยู่ข้างซ้าย วิธีการบิด ก็เหมือนกันทุกอย่างครับ แต่ ... ให้กลับการทำกัน ซ้ายเป็นขวา ทวนเข็มเป็นตามเข็ม ด้านซ้ายเป็นด้านขวา ด้านขวาเป็นด้านซ้าย แล้วจะเข้าล๊อคเหมือนกันครับ2. ให้สังเกตุเม็ดสีด้านบน เช่น ถ้าเป็นสีขาว ให้เราเลือกเม็ดที่ไม่มีสีขาวเอามาทำ เพราะมันจะลงตัว แต่ถ้ามีสีขาวอยู่ ยังไงมันก็ไม่ลงครับ3. ถ้าสมมุติเหมือนตัวอย่างเลย คือสีแดงและสีน้ำเงิน แต่เม็ดที่ต้องการก็อยู่ตรงนั้นแหละ แต่สลับสีกันระหว่างแดงกับน้ำเงิน ให้เราบิดแบบขั้นตอนนี้ทิ้งไป 1 ชุดครับ สีแดงน้ำเงินที่ต้องการ จะมาอยู่ด้านบน แล้วเราก็ค่อยบิดกลับลงมาให้ถูกตำแหน่ง
ขั้น ตอนที่ทำขั้น ที่สองนี้ ไม่เยอะมาก แต่ต้องทำความเข้าใจกับมันนิดนึงครับ ว่าทำไมต้องบิดแบบนี้ ขนาดนี้ ถ้าเข้าใจแล้วจะง่ายเลยครับ จะได้สองแถวได้เร็วมากๆ ครับ
ก็เหลือขึ้นตอนที่ 3 นะครับ ... อิอิ
1.บนเมนู เครื่องมือ ในโปรแกรม Word ให้ชี้เมาส์ไปที่ แมโคร และคลิก บันทึกแมโครใหม่ เพื่อแสดงกล่องโต้ตอบ บันทึกแมโคร


2.ในช่อง ชื่อของแมโคร ให้พิมพ์คำว่า InsertLegalText
3.ในช่อง เก็บแมโครไว้ที่ ให้คลิก เอกสารทั้งหมด (Normal.dot)

4.คลิก ตกลง แถบเครื่องมือ การบันทึก จะปรากฏ




5. พิมพ์ข้อความต่อไปนี้: Copyright XYZ Corporation. You may not modify, copy, or distribute any information contained in this document without our prior permission.
6.บนแถบเครื่องมือ การบันทึก ให้คลิก หยุดการบันทึก
7.เปิดเอกสาร Word ใหม่อีกเอกสารหนึ่ง และบนเมนู เครื่องมือ ให้ชี้เมาส์ไปที่คำว่า แมโคร และคลิก แมโคร เพื่อแสดงกล่องโต้ตอบ แมโคร


8.ในรายการ แมโครใน ให้คลิก Normal.dot (แม่แบบส่วนรวม)
9.ในรายการ ชื่อแมโคร ให้คลิก InsertLegalTextและคลิก เรียกใช้ ข้อความที่คุณพิมพ์ในขั้นตอนที่ 5 จะปรากฏในเอกสารใหม่

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งเบื้องต้นในภาษาซี


1. คำสั่ง scanf() เป็นฟังก์ชันที่รับค่าจากอุปกรณ์นำเข้ามาตรฐาน และนำค่าที่ได้เก็บไว้ในตัวแปรในโปรแกรมรูปแบบคำสั่ง





เมื่อโปรแกรมทำงานถึงฟังก์ชันนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อมูล โดยข้อมูลที่ป้อนจะแสดงบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จกด Enter ข้อมูลทั้งหมดจะเก็บในตัวแปร var ชนิดของข้อมูลที่กำหนดให้กับตัวแปร var จะถูกกำหนดโดยตัวกำหนดชนิดข้อมูลซึ่งระบุในส่วนของ format code ตัวกำหนดชนิดข้อมูลของฟังก์ชัน scanf() จะเหมือนกับของฟังก์ชันprintf() ฟังก์ชัน scanf() จะทำให้เคอร์เซอร์ ขึ้นบรรทัดใหม่หลังจากกด Enter
ตัวอย่าง#include "stdio.h"#include "conio.h" void main() { int a,b,c; clrscr(); printf("Enter three integer numbers : "); scanf("%d%d%d",&a,&b,&c); printf("a = %d b = %d c = %d \n",a,b,c); }เป็นการป้อนเลขจำนวนเต็ม 3 ตัวให้กับตัวแปร a,b และ c ในการป้อนตัวเลขให้เว้น ช่องว่างระหว่างตัวเลขแต่ละชุดซึ่ง scanf() จะข้อมช่องว่างไปจนกระทั่งพบตัวเลขจึงจะอ่านข้อมูลอีกครั้ง

2
. ฟังก์ชั่น printf() เป็นฟังก์ชั่นใช้ พิมพ์ค่าข้อมูลไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์รูปแบบคำสั่ง




control string อาจจะเป็นตัวอักษร ข้อความหรือตัวกำหนดชนิดข้อมูล (specifier) ซึ่งใช้กำหนดชนิดข้อมูลที่จะพิมพ์ ตัวกำหนดชนิดข้อมูล

ตัวกำหนดชนิดข้อมูล
%c แทนตัวอักษร
%d แทนเลขจำนวนเต็ม
%e แทนเลขในรูปเอกซ์โพเนนเชียล (exponential form)
%f แทนเลขทศนิยม
%0 แทนเลขฐานแปด
%s แทนสตริงก์
%u แทนเลขจำนวนเต็มไม่คิดเครื่องหมาย
%x แทนเลขฐานสิบหก
%p แทนข้อมูลแบบพอยน์เตอร์ (pointer)
%% แทนเครื่องหมาย %


สามารถดัดแปลงเพื่อใช้เป็นตัวกำหนดชนิดข้อมูลอื่นๆได้โดย โมดิฟายเออร์ (modifier) l,h และL โมดิฟายเออร์ l จะสามารถใช้กับตัวกำหนดชนิดข้อมูล %d, %o , %u และ %x เพื่อใช้กับข้อมูลชนิดยาวเช่น %ld หมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มยาวโมดิฟายเออร์ h จะใช้ในลักษณะเดียวกันกับข้อมูลชนิดสั้น เช่น %hd หมายถึง ข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มสั้น
สำหรับข้อมูลชนิดทศนิยมจะมีโมดิฟายเออร์ l และ L โดย l จะหมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด 2 เท่า ส่วน L จะหมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงรายละเอียด 2 เท่า เช่น %lf หมายถึงข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงละเอียด 2 เท่า
ตัวอย่าง
#include
#include
void main(void)
{
int n;
clrscr();
n=100;
printf("Number = %d",n);
getch();
}


3. ฟังก์ชัน getchar() ฟังก์ชัน getchar() ใช้สำหรับป้อนตัวอักษรผ่านทางแป้นพิมพ์โดยจะรับตัวอักษรเพียง 1 ตัวเท่านั้น และแสดงตัวอักษรบนจอภาพ
รูปแบบคำสั่ง




เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนตัวอักษร 1 ตัว หลังจากนั้นกด Enter ตัวอักษรที่ป้อนจะถูกเก็บไว้ในตัวแปร ch ซึ่งเป็นชนิดตัวอักษรและเคอร์เซอร์จะขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getchar() กำหนดในไฟล์ stdio.h เช่นเดียวกับฟังก์ชัน scanf()
ตัวอย่าง
#include

void main()
{
char ch;
printf("Type one character ");
ch = getchar();
printf("The character you type is %c \n",ch);
printf("The character you typed is ");
putchar(ch);
}
การใช้ฟังก์ชัน putchar() แทน printf() จะพิมพ์ตัวอักษร 1 ตัว และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่


4. คำสั่ง getche(); และ getch();
คำสั่ง getche(); จะรับตัวอักษร 1 ตัวที่ป้อนทางแป้นพิมพ์

รูปแบบคำสั่ง getche();

ความหมาย
ch หมายถึง ตัวแปรชนิดตัวอักษร

แสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนข้อมูลเสร็จไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ ฟังก์ชัน getch() จะคล้ายกับฟังก์ชัน getche() ต่างกันตรงที่จะไม่แสดงตัวอักษรขณะป้อนข้อมูล ฟังก์ชัน getche() และ getch() กำหนดในไฟล์ conio.h ดังนั้นจะต้องระบุไฟล์ดังกล่าวในโปรแกรม
ตัวอย่าง คำสั่ง getche();
#include "stdio.h"
#include "conio.h"
void main(void)
{
char answer;
clrscr();
printf("Enter A Character : ");
answer=getche();

printf("\n");
printf("A Character is : %c\n",answer);
getch();
}



คำสั่งgetch(); คือฟังก์ชันที่ใช้สำหรับรับข้อมูลชนิดตัวอักษร ผ่านแป้นพิมพ์ 1 ตัวอักษร
รูปแบบคำสั่ง getch();

จะไม่แสดงตัวอักษรบนจอภาพ เมื่อป้อนตัวอักษรเสร็จแล้ว ไม่ต้องกด Enter และเคอร์เซอร์จะไม่ขึ้นบรรทัดใหม่ และเป็นฟังก์ชันที่กำหนดอยู่ในไฟล์ conio.h รูปแบบคำสั่ง ความหมาย
ตัวอย่าง คำสั่ง getch();
#include
#include
void main(void)
{
char answer;
clrscr();
printf("Enter A Character : ");
answer=getch();
printf("\n");
printf("A Character is : ");
putchar(answer);
getch();
}


5. ฟังก์ชัน gets() ฟังก์ชัน gets() ใช้สำหรับข้อมูลชนิดสตริงก์หรือข้อความซึ่งป้อนทางแป้นพิมพ์
รูปแบบคำสั่ง


เมื่อโปรแกรมทำงานถึงคำสั่งนี้จะหยุดเพื่อให้ป้อนข้อความ เมื่อป้อนเสร็จแล้วกด Enter ข้อความ ทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในอาร์เรย์สตริงก์ str โดย carriage return (จากการกด Enter) จะแทนด้วยสตริงก์ศูนย์ ฟังก์ชัน gets() จะทำให้เคอร์เซอร์ขึ้นบรรทัดใหม่ หลังจากกด Enter กำหนดในไฟล์ stdio.h

ตัวอย่าง

#include”stdio.h”
main()
{
char message[50];
printf(“ Enter a message(less than 49 characters)\n”);
gets(message);
printf(“ The message you entered is %s\n”,message);
}

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำสั่งในภาษาซี
int คือ คำสั่งในการประกาศค่าตัวแปร

printf คือคำสั่งที่ใช้แสดงผล


switch(ตัวแปร)
{ case ค่า : คำสั่งที่จะให้ทำ; // case ค่า ตามด้วยโคลอน(กด shft+เซมิโคลอน) break; case ค่า : คำสั่ง; break; default :คำสั่ง }


else if คือคำสั่งเงื่อนไขที่ตรวจสอบว่าเป็นจริงหรือไม่

clrscr ลบหน้าจอ
ประวัติภาษาซี
ภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นโดย ในปีค.ศ. 1972 ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ของบริษัท AT&T เป็นภาษาที่ใช้เขียนระบบปฏิบัติการ UNIX ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมคู่กับภาษาซี และมีการใช้งานอยู่ในเครื่องทุกระดับภาษา เป็นภาษาระดับสูงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากภาษา จะเป็นภาษาที่รวมเอกข้อดีของภาษาระดับสูงในเรื่องของความยืดหยุ่นและไวยากรณ์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ กับข้อดีของภาษาแอสเซมบลีในเรื่องของประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานทำให้โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีทำงานได้เร็วกว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงอื่น ๆ ในขณะที่การพัฒนาและแก้ไขโปรแกรมสามารถทำได้ง่ายเช่นเดียวกันภาษาระดับสูงทั่ว ๆ ไป นอกจากนี้ภาษา C ยังได้มีการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปอีก โดยทำการประยุกต์แนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุเข้ามาใช้ในภาษา ทำให้เกิดเป็นภาษาใหม่คือ C++ (++ ในความหมายของภาษาซีคือการเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งนั่นเอง) ซึ่งเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมใช้งานพัฒนาโปรแกรมอย่างมาก
ภาษาซี (C programming language) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงโครงสร้างระดับสูงที่ได้รับพัฒนาขึ้นในช่วงทศวรรษ 1970 โดย เคน ธอมป์สัน (Ken Thompson) และ เดนนิส ริทชี่ (Dennis Ritchie) สำหรับใช้ในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ต่อมาภายหลังได้ถูกนำไปใช้กับระบบปฏิบัติการอื่น ๆ และกลายเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ภาษาซีมีจุดเด่นที่ประสิทธิภาพในการทำงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนด้วยเป็นภาษาซีจึงทำงานได้รวดเร็ว ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ระบบ และเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วไปในหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาซี
#include
int main()
{
printf("hello, world\n");
return 0;
}

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552



















รักไม่ใช่การครอบครอง
หลายครั้งที่เรามักเชื่อกันว่า...รักเป็นเรื่องสวยงาม ไม่มีความเจ็บปวด และที่สำคัญ “รัก” ไม่เคยทำร้ายใคร แต่ในความเป็นจริง...หลายต่อหลายครั้งที่เรามีความรัก...และต้องเจ็บปวด เสียน้ำตาให้กับรักที่เกิดขึ้น
เรื่องจริงที่อาจเกิดขึ้นกับหลายคนคือ...การที่คุณมีความรัก...ให้กับใครคนหนึ่ง... แต่ไม่อาจบอกให้เค้ารับรู้ได้หรืออาจเป็นเพราะคุณกลัวที่จะเผยความรู้สึกพิเศษออกไป ได้แต่เก็บงำเอารักนั้นไว้ในใจเพียงคนเดียว และมีความสุขกับการได้อยู่ใกล้ ๆ ในฐานะเพื่อนหรืออาจเป็นเพราะเค้าคนนั้น มีใครคนอื่นอยู่ก่อนแล้ว และในสายตาที่มองมาที่คุณ ความสนิทสนมที่มีให้ ก็เป็นความรู้สึกที่ดีระหว่างเพื่อนเท่านั้น หลายคนมีประสบการณ์กับ “รักเร้น” แบบนี้ แต่ก็ยังมีความสุขกับการได้แอบรัก หรือรักเขาข้างเดียว มีความสุขกับการได้อยู่ใกล้ ๆ โดยไม่ได้หวังได้รักตอบรับกลับจากใครคนนั้น สำหรับหลาย ๆ คน การได้รัก ไม่จำเป็นต้องได้รักตอบกลับมา แม้ไม่ได้เป็นใครคนนั้นในใจเขา ไม่ได้เป็นคนแรกที่เขาคิดถึง...ก็ขอเพียงมีความหมายเล็ก ๆ กับเขาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นคนสุดท้ายที่เขาจะคิดถึงก็ตาม ก็ยังดีกว่าไม่มีความหมายอะไรกับเค้าเลย...
การรักใครซักคนนึง ไม่จำเป็นต้องได้รักกลับคืนมา แต่ความรักจะสมบรูณ์เมื่อทั้งสองฝ่ายมอบความห่วงใย ผูกพันให้แก่กัน คนเรา...ควรเลือกรักเพื่อที่จะรัก ...ไม่ใช่รัก เพื่อที่จะครอบครอง การได้แอบดูแล แอบห่วงใยเค้าอยู่ห่างๆ เพราะบอกเค้าไม่ได้ ว่าเรารู้สึกยังงัย แต่การแอบรักใครซักคนนึง มันก็ดีไปอีกแบบ ไม่ต้องมีการบอกคำว่า " รัก " ไม่ต้องคอยระแวง ไม่ต้องคอยโทรหาทุกวัน และที่สำคัญ จะไม่มีคำว่า..เราเป็นเพื่อนกันนะ หรือ จากนี้ไปเราจบกัน...

จงเป็นสุขกับความรู้สึกดีที่ได้รัก...
ให้รัก...เป็นความรู้สึกที่พิเศษและมีชีวิตชีวา ใ
ห้รัก...เป็นแววตาที่สดใส
ให้รักนี้...เป็นรักที่ไม่อ่อนไหว หากแต่เป็นความอบอุ่นในใจและเอื้ออาทร....

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ

ชื่อ นางสาว อุมาพร แม่นมั่น
ชื่อเล่น เรส อายุ 17ปี
กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี
แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ห้อง 2/3 เลขที่ 29
E-mail:redy_mike@hotmail.com
เวลาว่างชอบนั่งดุทีวีเล่นคอมพิวเตอร์ อิอิ
นิสัยก็แบบว่า ตลก บ้าๆบอๆ ฮาๆ บ้าไปแล้ว 55+
มีรัยคุยกันได้เป็นคนตรงๆ